วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

พระราชวังฟงแตนโบล

พระราชวังฟงแตนโบล


พระราชวังฟงแตนโบล (อังกฤษ: Palace of Fontainebleau, ฝรั่งเศส: Château de Fontainebleau) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ราว 55 กิโลเมตรจากศูนย์กลางของกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นพระราชวังหลวงที่ใหญ่ที่สุดพระราชวังหนึ่งของฝรั่งเศส สิ่งก่อสร้างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นงานที่สร้างขึ้นและต่อเติมเปลี่ยนแปลงโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ ส่วนที่ก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นส่วนที่สร้างโดยพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 “พระราชวังฟงแตนโบล” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1981

ประวัติ


พระราชวังฟองแตนโบล เป็นพระราชวังที่สร้างมาตั้งแต่สมัยยุคกลาง แต่ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของพระราชวัง แห่งนี้คือตอนที่ นโปเลียน โบนาปาต ปกครองประเทศ พระราชวังฟองแตนโบลแห่งนี้ถูกใช้เป็น พระราชวังหลวงอย่างเป็นทางการในรัชสมัยของ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 นะครับ ราชฑูตสยามซึ่งรัชการที่ 6 ส่งมา ได้เข้าเฝ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ณ พระราชวังแห่งนี้ Fontainebleau ตั้งอยู่กลางป่าใหญ่ในอิล-เดอ-ฟรองซ์ สถานที่ในยุคกลางแห่งนี้กษัตริย์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ ทรงใช้เป็นที่พักในการล่าสัตว์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ภายหลังในศตวรรษที่ 16 ถูกเปลี่ยนแปลง ขยับขยายและตกแต่งใหม่โดยพระเจ้าฟรังซัวส์ที่ 1 ซึ่งทรงประสงค์ที่จะสร้างให้เป็น 'กรุงโรมแห่งใหม่' ท่ามกลางอุทยานที่รายล้อมอย่างหนาแน่น พระราชวังแบบอิตาลีแห่งนี้ ผสมผสานรสนิยม ทางศิลปะ แบบเรอเนซองส์และฝรั่งเศสเข้าด้วยกัน ปราสาทฟองแตนโบลนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคเรอเนซองซ์ (ราวคริสตวรรษที่ 16) ฉะนั้นการตกแต่งประดับประดาจึงงดงามหยดย้อย กษัตริย์หลายๆ ท่านใน สมัยนั้นนิยมอุปถัมภ์ศิลปินเพื่อให้ได้รังสรรค์ผลงานศิลปะ

พระราชวังหลวง วังฟงแตนโบลเดิมตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งที่ใช้สอยมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่สร้างโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 โดยมีทอมัส เบ็คเค็ทเป็นผู้ประกอบพิธีสถาปนาชาเปล ฟงแตนโบลเป็นที่ประทับอันเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 9
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างพระราชวังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันคือพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 โดยมีสถาปนิกชิลส์ เลอ เบรตอง (Gilles le Breton) เป็นผู้สร้างตัวตึกเกือบทุกหลังของ “ลานรูปไข่” (Cour Ovale) และรวมทั้ง “ประตูโดเร” (Porte Dorée) ที่เป็นทางเข้าด้านใต้ นอกจากนั้นพระเจ้าฟรองซัวส์ก็ยังทรงเชิญสถาปนิกเซบาสเตียโน แซร์ลิโอ จากอิตาลีมายังฝรั่งเศส และเลโอนาร์โด ดา วินชี ภายในตัวพระราชวังมีโถงระเบียงพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 (Francois I Gallery) ที่แล่นตลอดปีกหนึ่งของวังที่ตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังในกรอบปูนปั้นแบบต่างๆ โดยรอซโซ ฟิโอเรนติโน (Rosso Fiorentino) ที่เขียนระหว่าง ค.ศ. 1522 ถึง ค.ศ. 1540 ซึ่งโถงระเบียงแรกที่ได้รับตกแต่งอย่างวิจิตรในฝรั่งเศส โดยทั่วไปแล้วก็เรียกได้ว่าฟงแตนโบลเป็นการเริ่มยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศส


“ห้องเลี้ยงรับรอง” (Salle des Fêtes) ที่มาสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าอองรีที่ 2 ตกแต่งโดยฟรันเชสโก ปรีมาติชโช และ นิโคโล เดลาบาเต (Niccolò dell'Abbate) ส่วน “นิมฟ์แห่งฟงแตนโบล” ที่เขียนโดยเบนเวนูโต เชลลินิ (Benvenuto Cellini) ที่เขียนให้แก่ฟงแตนโบลในปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
การก่อสร้างครั้งใหญ่เริ่มขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระเจ้าอองรีที่ 2 และพระอัครมเหสีแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ ผู้ทรงจ้างสถาปนิกฟิลิแบร์ต เดอ ลอร์ม และ ฌอง บุลลองท์ (Jean Bullant) ต่อมาพระเจ้าอองรีที่ 4 ก็ทรงตกแต่งฟงแตนโบลของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 และ พระเจ้าอองรีที่ 2 โดยทรงเพิ่มลาน “Cour des Princes” และ “โถงระเบียงไดแอน เดอ ปัวติเยร์” และ “โถงระเบียงเซิร์ฟ” ที่ติดกันใช้เป็นห้องสมุด ในช่วงนี้ศิลปินของ “ตระกูลการเขียนฟงแตนโบลที่สอง” ก็เป็นผู้ดำเนินการตกแต่งแต่ก็ไม่มากเท่าใดนักและไม่เป็นงานต้นฉบับเท่ากับการตกแต่งในรัชสมัยของ “ตระกูลการเขียนฟงแตนโบลที่หนึ่ง” ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1




พระเจ้าอองรีที่ 4 ทรงสร้างคลองขุดยาว 1200 เมตรในอุทยานป่าโปร่งที่ในปัจจุบันใช้ตกปลาได้ และทรงมีพระบรมราชโองการให้ปลูกสน, เอล์ม และไม้ผล อุทยานป่าโปร่งมีเนื้อที่ราว 80 เฮ็คตารโดยมีกำแพงร้อมรอบและถนนเป็นระยะๆ พนักงานอุทยานของพระเจ้าอองรีที่ 4 โคลด โมลเลต์ (Claude Mollet) ผู้ได้รับการฝึกหัดที่วังดาเนต์ (Château d'Anet) วางผังสวนแบบสวนพาร์แทร์ (Parterre) นอกจากนั้นก็ยังทรงสร้าง “jeu de paume” (ห้องเล่นเทนนิสโบราณ (Real tennis)) ที่ยังคงมีอยู่ให้เห็น ซึ่งเป็นห้องเล่นเทนนิสโบราณที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เป็นของสาธารณะ


พระเจ้าฟิลิปที่ 4, พระเจ้าอองรีที่ 3 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ต่างก็เสด็จพระราชสมภพที่ฟงแตนโบล และพระเจ้าฟิลิปเสด็จสวรรคตที่นี่ แขกของพระราชวังที่สำคัญๆ ก็ได้แก่สมเด็จพระราชินีนาถคริสติน่าแห่งสวีเดนผู้เสด็จมาประทับอยู่เป็นเวลาหลายปีหลังจากที่ทรงสละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1654 ในปี ค.ศ. 1685 ฟงแตนโบลก็ใช้เป็นที่ลงนามพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบลที่เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ (ค.ศ. 1598) ฟงแตนโบลเป็นที่ประทับของพระราชอาคันตุกะของกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บองที่รวมทั้งพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย และพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก



การปฏิวัติและจักรวรรดิ


ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสฟงแตนโบลถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "Fontaine-la-Montagne" (น้ำพุใกล้เนินเขา, เนินเขาที่อ้างถึงคือบริเวณแนวเนินหินที่ตั้งอยู่ในป่าฟงแตนโบล) เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระราชวังก็ตกอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเฟอร์นิเจอร์เดิมก็ถูกขายทอดไป ในช่วงเดียวกับที่เฟอร์นิเจอร์ของพระราชวังหลวงของฝรั่งเศสทั้งหลายถูกทำลายและขายไปจากทุกพระราชวังเพื่อหาทุนในการต่อต้านไม่ให้ราชวงศ์บูร์บองเข้ามาใช้ได้อีก แต่จะอย่างไรก็ตามภายในสิบปีหลังจากนั้นจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ก็ทรงเปลี่ยนโฉมของฟงแตนโบลให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความมียิ่งใหญ่และความรุ่งเรืองของฝรั่งเศสแทนที่พระราชวังแวร์ซายส์ที่ถูกทิ้งว่างไว้ ในปี ค.ศ. 1804 จักรพรรดินโปเลียนก็ทรงเจ้าภาพต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 ที่ฟงแตนโบลเมื่อเสด็จมาทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และอีกครั้งระหว่างปี ค.ศ. 1812 ถึงปี ค.ศ. 1814 เมื่อพระสันตะปาปาทรงถูกนำตัวมาเป็นนักโทษของนโปเลียน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1807 มานูเอล โกดอยมนตรีในพระเจ้าคาร์ลที่ 4 แห่งสเปน และ จักรพรรดินโปเลียนก็ลงนามในสนธิสัญญาฟงแตนโบลที่สเปนอนุญาตให้ฝรั่งเศสเดินทัพผ่านสเปนเพื่อไปรุกรานโปรตุเกส
เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1814 ไม่นานก่อนที่จักรพรรดินโปเลียนจะทรงสละราชสมบัติ พระองค์ก็ทรงล่ำลากองทหารรักษาพระองค์เดิมที่รับราชการกับพระองค์มาตั้งแต่การรณรงค์ทางทหารครั้งแรกที่ “ลานม้าขาว” (la cour du Cheval Blanc) ที่หน้าวังฟงแตนโบล ซึ่งตั้งแต่นั้นมาก็ได้รับการเรียกว่า “ลานแห่งการอำลา” สนธิสัญญาฟงแตนโบล แห่ง ค.ศ. 1814 ปลดจักรพรรดินโปเลียนจากอำนาจ (แต่มิได้ถอดพระองค์ออกจากการเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส) และเนรเทศพระองค์ไปยังเกาะเอลบา

ในเดือนกรกฎาคม และ สิงหาคม ค.ศ. 1946 เมืองฟงแตนโบลก็เป็นเจ้าภาพการประชุมฝรั่งเศส-เวียดนามที่มีวัตถุประสงค์ในการหาวิธีแก้ปัญหาการแสวงหาอิสรภาพของเวียดนามจากฝรั่งเศส แต่เป็นการประชุมที่ประสบความล้มเหลว




ลักษณะสถาปัตยกรรม



ฟงแตนโบลเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นแรกที่นำฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคแมนเนอริสม์ในด้านการตกแต่งภายใน และทางด้านการออกแบบตกแต่งสวน การตกแต่งภายในแบบแมนเนอริสม์ของฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เรียกกันว่าการตกแต่ง "แบบฟงแตนโบล" ที่เป็นการตกแต่งที่รวมทั้งงานประติมากรรม, งานโลหะ, จิตรกรรม, งานปูนปั้น และงานไม้ ส่วนภายนอกสิ่งก่อสร้างก็เริ่มมีการสวนแบบสวนลวดลาย (parterre) ฟงแตนโบลรวมจิตรกรรมที่เป็นอุปมานิทัศน์เข้ากับงานปูนปั้นที่เป็นกรอบรอบที่ตกแต่งคล้ายม้วนที่รวมลายอะราเบสก์ และลายวิลักษณ์ ความสวยของสตรีในอุดมคติของจิตรกรรมแบบฟงแตนโบลจะเป็นความสวยแบบแมนเนอริสม์: หัวเล็กบนคอยาว, เรือนร่างและแขนขาจะยาวกว่าปกติ หน้าอกเล็กและสูง—ที่เหมือนจะกลับไปมีลักษณะของปลายกอธิค งานศิลปะที่สร้างที่ฟงแตนโบลได้รับการบันทึกอย่างละเอียดเป็นงานพิมพ์ที่เป็นที่แพร่หลายกันในบรรดานักนิยมศิลปะ และ ศิลปินเอง งานที่สร้างเป็นงานพิมพ์จาก "ตระกูลการเขียนแบบฟงแตนโบล" ที่เป็นลักษณะของการงานศิลปะแบบใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์เผยแพร่ไปยังบริเวณทางตอนเหนือของยุโรป โดยเฉพาะที่อันท์เวิร์พ และเยอรมนี และในที่สุดก็ไปถึงอังกฤษ

ปัจจุบัน


ในปัจจุบันฟงแตนโบลเป็นที่ตั้งของสถาบันศิลปะอเมริกันฟงแตนโบล (Écoles d'Art Américaines) ซึ่งเป็นสถาบันสำหรับนักศึกษาศิลปะ, สถาปัตยกรรม และ ดนตรีจากสหรัฐอเมริกา สถาบันก่อตั้งขึ้นโดยนายพลจอห์น เจ. เพอร์ชิง (John J. Pershing) เมื่อมาตั้งกองบัญชาการอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง



สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง



พระราชวังแวร์ซายส์



พระราชวังแวร์ซายส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย


หอไอเฟล (La Tour Eiffel)



สัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส และหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของโลก ซึ่งออกแบบโดย “กุสตาฟ ไอเฟล” หอไอเฟลเป็นหอคอยโครงสร้างเหล็ก ตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ ใกล้กับแม่น้ำแซน หอไอเฟลจัดเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเลิศ สัญลักษณ์แห่งเมืองปารีสและฝรั่งเศส ผสานไว้ซึ่งความแข็งแกร่ง สง่างาม และความวิจิตรของความเป็นปารีสไว้ได้อย่างชาญฉลาด จากการสร้างสรรค์ของกุสตาฟ ไอเฟล เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสทั้งในด้านเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีในงานเอ็กซ์โปปี ค.ศ. 1889 สร้างด้วยเหล็กกล้าร่วม 10,000 ตัน มีความสูงรวมเสาอากาศ 324 เมตร สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น และมีบันไดถึง 1,665 ขั้น และความสูงของหอไอเฟลนั้นสามารถยืดได้หดได้ตามสภาพอากาศแต่ละวัน ด้วยความที่สร้างจากเหล็กจึงทำปฏิกิริยากับอุณหภูมิร้อนหนาวที่เข้ามากระทบ โดยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นบันไดหรือลิฟต์เพื่อชมวิวกรุงปารีสจากหอไอเฟลได้ทุกวัน ตั้งแต่ 9.00 - 4.00 น. โดยจะต้องเสียค่าขึ้นหอคอยตามจำนวนชั้นที่ต้องการขึ้นชม ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 ชั้น (รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่) ปารีสเขาก็มีมุมที่สามารถมองเห็นและถ่ายรูปหอไอเฟลได้สวยที่สุด ที่ลานทรอคาเดโร หรือ “Place du Trocadero” ที่เราจะได้เห็นหอไอเฟลกันแบบเต็มตา


ประตูชัยฝรั่งเศส (L’Arc de Triomphe de l'Étoile)



อนุสรณ์สถานสำคัญของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนชองป์ส-เซลีเซส์ กลางจัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (Place Charles-de-Gaulle) หรือชื่อเดิมคือจัตุรัสเอตวลล์ (Place de l'Étoile) ซึ่งมีความหมายว่าจัตุรัสแห่งดวงดาว เพราะมีถนนถึง 12 สายมาบรรจบกันที่นี่ ทำให้มีลักษณะเหมือนดวงดาวจึงเป็นที่มาของชื่อจัตุรัส โดยประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1806 หลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับชัยชนะในยุทธการเอาสเตอร์ลิทซ์ เพื่อเป็นการสดุดีวีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน สงครามนโปเลียน ปัจจุบันเป็นสุสานของทหารนิรนาม ประตูชัยมีความสูง 49.5 เมตร กว้าง 45 เมตร และลึก 22 เมตร เป็นประตูชัยที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก การเข้าไปยังประตูชัยด้วยการเดินนั้นควรใช้ทางเดิน ใต้ดิน การเดินบนถนนไม่ค่อยจะปลอดภัยนัก เนื่องจากการจราจรที่คับคั่งที่บริเวณจัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ บนยอดของประตูชัยเป็นจุดชมวิวกรุงปารีสที่ดีที่สุดอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากสามารถมองเห็นถนนใหญ่ 12 สายมาบรรจบกันเสมือนเป็นดาวกระจาย นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปบนประตูชัยได้โดยเสียค่าขึ้นชม 9 ยูโร และขึ้นชมได้ตั้งแต่ 10.00 - 23.00 น.


ชองป์ส-เซลีเซส์ (L’avenue des Champs-Elysées)


ถนนชื่อก้องโลกที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในโลก เริ่มต้นถนนจากจัตุรัสกองกอร์ (Place de la Concorde) ไปสุดที่จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ บริเวณประตูชัยฝรั่งเศส รวมระยะทางยาว 1,910 เมตร ส่วนความกว้างเท่ากับ 70 เมตร บนถนนสายนี้เต็มไปด้วยโรงแรมมากมายหลายระดับ ร้านอาหารชื่อดัง คาเฟ่ ร้านขายสินค้า แฟชั่น สินค้าแบรนด์เนมชื่อดังมากมาย อย่าง หลุยส์ วิตตอง ห้างดังจากสวีเดนอย่าง H&M ร้านเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่ Sephora เป็นต้น

ที่พัก

- Hotel Lumen (15, rue des Pyramides 75001 Paris Tel: +33 1 44 5077 01
Fax: +33 1 44 5077 10 www.hotel-lumenparis.com) บูติกโฮเต็ลสุดเก๋ใจกลางเมืองปารีส ด้วยโลเกชั่นชั้นเยี่ยม เพราะอยู่ตรงกลางระหว่างย่านศิลปะและแฟชั่นชั้นสูงของปารีส อย่างพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โรงละคร โอเปร่า และถนน Saint- Honore จึงเหมาะสำหรับการช้อปปิ้งเป็นที่สุด แถมยังอยู่ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินอีก ต่างหาก

-Hotel le Wallt (37 Avenue de la Motte Picquest Paris www.hotel-walt-paris.federal-hotel.com) บูติกโฮเต็ลอีกแห่ง ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับหอไอเฟล ตกแต่งในสไตล์โมเดิร์น สะอาด สะอ้าน ห้องพักกว้างขวาง สวยงาม ทันสมัย


ของฝากจากปารีส


มาปารีสเป็นเมืองแห่งแฟชั่น ดังนั้นจึงเลือกซื้อของฝากกันได้ตามอัธยาศัย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง หรือน้ำหอม รวมถึงอาหารการกินที่มีให้เลือกสารพัดสารพัน



- Louis Vuitton ไม่ว่าจะแขกไปใครมาเป็นต้องแวะหรือไม่ก็ต้องฝากซื้อกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง กันเป็นส่วนมากไม่ว่าจะเป็นสาขาหลักที่เป็นแฟลกชิปสโตร์บนถนนชองป์ เซลิเซ่ หรือในห้างดังอย่าง แกลอรี่ ลาฟาแยตต์ ที่มักจะอุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยนักช้อปจากทั่วโลก


-Hediard (21, Place de la Madeline) ถ้าช้อปกันจนหมดแรงแล้ว จะแวะเติมพลังด้วย “Maron Glace” หรือเกาลัดเชื่อมน้ำตาล ที่นักกินทั่วโลกยกนิ้วให้ว่า มารอง กลาเซ่ ที่ปารีสนั้นเด็ดที่สุด แม้ทั่วปารีสจะมี มารอง กลาเซ่ ขายอยู่ทั่วไป แต่ที่อร่อยที่สุดต้องที่ร้านนี้เท่านั้น เพราะหวานอร่อยติดปลายลิ้นจนไม่อยากให้ละลายในปาก รับรองได้เลยว่าซื้อมาฝากใครจะถูกใจคนรับเป็นที่สุด

-Goyard (223 Rue St. Honore Paris) ร้านกระเป๋าเดินทางเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่ยังคงความคลาสสิก เป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง โดยเฉพาะราชวงศ์อังกฤษ โดยแบรนด์คลาสสิกนี้สืบต่อกันมาถึง 5 รุ่น ปัจจุบันกลับมาได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่แวดวงคนแฟชั่น กระเป๋าเดินทางแบรนด์โกยาร์ดจึงกลายเป็นของฝากจากปารีสที่ใครไปต้องได้รับออร์เดอร์ให้ซื้อมาฝาก


- Fauchon (26, place de la Madeleine 75008 Paris Mero: Madeine Tel: +33 1 7039 3800) ร้านขนมและอาหารแบบ Ready To Eat กินง่ายๆ ภายในร้าน อย่างแซนด์วิชต่างๆ สำหรับมื้อกลางวันง่ายๆ ของ คนทำงาน หรือดินเนอร์กับเมนูง่ายๆ แต่มีสไตล์ แกล้มไวน์หรือแชมเปญ ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับคนรักอาหารแล้วยังมีของกินสไตล์ฝรั่งเศส อย่าง ตับบด ฟัวกราส์ เป็ดแช่เกลือ ฯลฯ ให้เลือกช้อปเป็นของฝากอีกเพียบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น