วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกของปินโต

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย


395 Years Pinto’s Pérégrinação : an Account of Historiography or Adventurous Novel


พิทยะ ศรีวัฒนสาร

Bidya Sriwattanasarn





บทคัดย่อ


บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนานโดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย


คำสำคัญ: แฟร์เนา เมนเดซ ปินโต , หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย , ทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส, สมัยอยุธยา
S_bidya@hotmail.com


Abstract


Memoir of Fernão Mendez Pinto(1509-1583), “Pérégrinação”,1st published in 1614, informed us about contemporary environment, geography, history, culture, customs, traditions and events of the lands he visited, including with his exciting and unbelievable biography. This caused enemies of the Portuguese nation in Europe and even some one in Portugal, used his name so funny as a banter-pun. His memoir had been generally referred by Thai historians for long time since H.R.H. Prince Damrong up to the present day, concerning to issues of the role of the Portuguese royal bodyguard and the royal conferring land for them to be their settlement and to proceed their religious ritual in Ayutthaya Period. So, it was the main problem to examine that the book was a account of historiography or just an adventurous novel.


Key Words: Fernão Mendez Pinto, an account of historiography or an adventurous novel,Portuguese royal bodyguards, Ayutthaya period
S_bidya@hotmail.com



ประวัติของปินโต


ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน
ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583


ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือในเอกสารของเขาหลายประเด็น และชี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อนของศักราชที่เขาอ้างถึง



หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 (Philip I of Portugal,1581-1598 และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน - Philip II of Spain,1556-1598) ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา


งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”





รูปแบบการนำเสนอ


งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531: 115) เป็นต้น



ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้(Henry Cogan, 1653 :1-2) ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ“Pérégrinação” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ“คนป่าเถื่อน”(Henry Cogan, 1653 : A-B)


จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” อย่างไม่อาจมองข้ามได้ งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยๆฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสในปีค.ศ.1628 ก็ถูกอ้างอิงโดยซิมอง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de Laloubère) ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อกล่าวถึงจำนวนเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาก่อนหน้าการเข้ามาของตน (จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1,2510 : 502) ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าหากลาลูแบร์เคยได้ยินการเสียดสีงานเขียนของปินโตมาบ้างก่อนที่จะเดินทางเข้ามาสยาม เขาควรจะได้ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานจากผู้รู้พื้นเมืองชาวสยามอีกครั้ง ก่อนจะตีพิมพ์งานเขียนของตนที่กรุงอัมสเตอร์ดัมในปีค.ศ.1714 เพราะงานเขียนของปินโตเคยถูกล้อเลียนมาแล้วอย่างอื้อฉาว แต่กลับไม่ปรากฏข้อวิพากษ์ความน่าเชื่อถือของปินโตในงานของลาลูแบร์







คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม


บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า


“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น


สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”


การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120 คน จากจำนวน 130 คน อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค.ศ.1538 (พ.ศ.2081) คลาดเคลื่อนไปจากที่ระบุในหลักฐานของปินโต 10 ปี แม้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงอ้างจากหนังสือของปินโตก็ตาม


เรื่องราวในหนังสือ Pérégrinação สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส (Domingos de Seisus) ซึ่งเคยถูกจองจำและรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา (กรมวิชาการ , 2531: 109) ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียนของจูอาว เดอ บารอส (João de Baros) เช่นกัน (กรมวิชาการ,2531 : 95) เป็นต้น นอกจากนี้ อี.ดับเบิลยู. ฮัทชินสัน(E.W. Hutchinson) ก็อ้างตามหลักฐานของปินโตว่า


“ทหารโปรตุเกสจำนวน 120 คนซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงจ้างเป็นทหารรักษา


พระองค์(bodyguards)ได้สอนให้ชาวสยามรู้จักใช้ปืนใหญ่”


ดร.เจากิง ดึ กัมปุชชี้ว่า บทบาทของทหารอาสาชาวโปรตุเกสในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชอาจส่งผลให้มีการเริ่มปรับปรุงตำราพิชัยสงครามภายใต้การช่วยเหลือของที่ปรึกษาชาวโปรตุเกส จนเป็นที่มาของการตั้ง “กรมทหารฝารั่งแม่นปืน” ใน หนังสือ“ศักดินาทหารหัวเมือง” ซึ่งประกอบด้วยทหารเชื้อสายโปรตุเกสจำนวน 170 นาย จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใกล้เคียงกับจำนวนของทหารอาสาโปรตุเกส 120 คน ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช



ความน่าเชื่อถือ


หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง วิลเลียม คอนเกรฟ (William Congreve, 1670-1729) นักเขียนบทละครชาวอังกฤษได้แทรกบทกวีในบทละครชื่อ “Love for Love” (ค.ศ.1695) เยาะเย้ยว่า “Mendez Pinto was but a type of thee, thou liar of the first magnitude.” (กรมศิลปากร, 2526 : 42 ) เซอร์ ริชาร์ด เบอร์ตัน ( Sir Richard Burton) ในงานเขียนชื่อ “The Third Voyage of Sinbad, the Sailor” ระบุว่า การผจญภัยของปินโตมีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า “ซินแบดแห่งโปรตุเกส”


ดับเบิลยู. เอ.อาร์. วูด (W.A.R. Wood) ชี้ว่าควรจะอ่านงานเขียนของปินโตในฐานะที่เป็นเรื่องราวของชายชราที่ได้เดินทางกลับไปสู่มาตุภูมิอีกครั้งหนึ่งเพื่อความบันเทิง มิใช่เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นวันต่อวัน และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของปีศักราชในบันทึกชิ้นนี้ด้วย


อย่างไรก็ดี ดึ กัมปุช อดีตกงสุลใหญ่โปรตุเกสเมื่อค.ศ.1936 กลับชี้ว่าหลักฐานของปินโตแสดงให้เห็นว่าเขาเคยเดินทางเข้ามายังสยามจริง (Campos, 1940 : 14-15) และสิ่งที่สนับสนุนความน่าเชื่อถือในงานของปินโต คือ การยกงานเขียนในชั้นหลังๆมาเทียบเคียงความเป็นไปได้และความถูกต้องของเรื่องราวโดยเฮนรี โคแกน (ดูคำประกาศในฉบับแปลของHenry Cogan,1653 : ไม่มีเลขหน้า)


นักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างอิงโดยตลอด อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มานพ ถาวรวัฒน์สกุลในเรื่องขุนนางอยุธยา(2536) อ้างเรื่องยศขุนนางสมัยอยุธยาตอนกลาง สุเนตร ชุตินทรานนท์ในเรื่องบุเรงนองกะยอดินนรธา(2538) ก็อ้างเอกสารของปินโตซึ่งระบุตรงกับราล์ฟ ฟิตซ์ (Ralph Fitch)ว่า พระเจ้าบุเรงนองนำเอาเรื่องการขอช้างเผือกมาเป็นสาเหตุของสงครามระหว่างสยามกับพม่าใน ค.ศ.1569 เป็นต้น


งานเขียนปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล (Campos,1940,P.21) ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามความแม่นยำของเวลา (Timing) ที่ระบุในบันทึกของเขา และปินโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝัง (recommended letter) จากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว (Goa) เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส (Cogan,1653 : 317) แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา


หนังสือ “ Pérégrinação ” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสยามน้อยมาก ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่าตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศูนย์กลางของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่มะละกา ปินโตจึงให้ความสำคัญต่อมะละกามากกว่ากรุงศรีอยุธยา การที่ราชสำนักโปรตุเกสสนใจดินแดนทางใต้ของพม่าและชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีนก็น่าจะมีผลต่อโครงเรื่องของปินโตเช่นกัน การที่เขามีฐานะเป็นเพียงกลาสีเรือ นักผจญภัย แสวงโชค มิใช่บุตรขุนนางหรือนักการทูต มิใช่พ่อค้าหรือนายทหารที่ถูกส่งเข้ามาติดต่อกับสยามโดยตรง ทำให้เนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังสือของเขาเน้นกล่าวถึงสถานที่ต่างๆตามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกที่เขาเคยเดินทางไปถึงมากกว่า



หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา


หากนักเรียนประวัติศาสตร์คนใดจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร ปินโตระบุว่านักสอนศาสนาก็จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป เมื่อนักบุญฟรานซิส ซาเวียร์(St. Francis Xavier)จะออกไปเผยแพร่ศาสนาในญี่ปุ่น ท่านก็ต้องเดินทางจากมะละกาไปยังกัว เพื่อรับฟังนโยบายของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียเสียก่อน (กรมศิลปากร, 2526 : 35) การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา(Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส(João de Baros )และคาสปาร์ คอร์รีอา(Caspar Correa)เสียดสีเลยแม้แต่น้อย


การกล่าวว่ากองทัพพม่านำกระบือและแรดมาลากปืนใหญ่เพื่อทำสงครามกับสยามในฉบับแปลของโคแกน ทำให้วูด(Wood)ชี้ว่างานเขียนของปินโต “เป็นหลักฐานเชิงจินตนาการ” ข้อเสนอของวูดอาจทำให้นักเรียนประวัติศาสตร์เห็นคล้อยไปกับคอนเกรฟที่ระบุว่า ปินโตเป็นคนขี้ปด โชคดีที่ ดร. เจากิง ดึ กัมปุชแย้งว่า ปินโตไม่เคยระบุคำว่า “แรด” ในงานเขียน คำศัพท์ที่เขาใช้ คือ คำว่า “bada หรือ abada”นั้น ในคริสต์ศตวรรษที่16 หมายถึง สัตว์ป่า หรือ สัตว์เลี้ยงที่กลายเป็นสัตว์ป่า แม้ว่าจะมีนักเขียนบางคน เช่น บาทหลวง กาสปาร์ ดึ ครูซ (Fr. Gaspar de Cruz) จะใช้คำดังกล่าวเรียกแรดก็ตาม ส่วนบาร์โบซา (Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส (João de Baros ) และ คาสปาร์ คอร์รีอา (Caspar Correa) ต่างก็ใช้คำว่า “ganda” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตเมื่อกล่าวถึงแรด ขณะที่นักรวบรวมพจนานุกรม ชื่อ บลูโต (Bluteau, 1727) แปลคำว่า “abada คือ สัตว์ป่าชนิดหนึ่ง” ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญในการโต้แย้งประเด็นที่มีการแปล “abada” ว่า “แรด” (Campos, 1959 : 228) แม้ในภาษามาเลย์จะมีคำว่า “badâk” แปลว่า “แรด” แต่ในภาษาอาหรับก็มีคำว่า “abadat” หมายถึง “สัตว์ที่มีรูปร่างเป็นสีน้ำตาล” หรือ “สัตว์ป่า” หรือ “สัตว์เลี้ยงที่หลบหนีไปจนกลายเป็นสัตว์ป่า” ดึ กัมปุช ระบุว่า คำว่า “abada” ถูกแปลว่า “แรด” ในคริสต์ศตวรรษที่17 ดังนั้น “abada” ในบันทึกของปินโตจึงถูก ฟิกูอิเยร์และโคแกนแปลว่า “แรด” ในเวลาต่อมา ปินโตจะใช้คำว่า “abada” เมื่อกล่าวถึง “จามรี(yaks)” ซึ่งเป็นสัตว์ต่าง (beast of burden) ในตาตาเรีย (Tataria) เพราะไม่มีศัพท์ดังกล่าวในภาษาโปรตุเกส และใช้คำภาษาอาหรับว่า “abida” ในที่อื่นๆอีกร่วม12ครั้งเมื่อกล่าวถึงสัตว์ใหญ่คล้ายแรดหรือสัตว์ต่างชนิดอื่นซึ่งไม่อาจหาคำมาใช้แทนได้



สรุป


ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวะที่ยุโรปเพิ่งจะพ้นจากยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดและยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทางศาสนา มีใครบ้างที่จะกล้าเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนเองเคยรับประทานเนื้อมนุษย์เพื่อประทังชีวิตกลางทะเลหลังจากถูกโจรสลัดโจมตี ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว


พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ เคยได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างยิ่งว่ามีความแม่นยำในเรื่องศักราชและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (นิธิ, 2525 : 65) แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว (นิธิ, 2525 : 6) ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้

แหล่งอ้างอิงจาก: พิทยะ ศรีวัฒนสาร (Bidya Sriwattanasarn)

พระราชวังฟงแตนโบล

พระราชวังฟงแตนโบล


พระราชวังฟงแตนโบล (อังกฤษ: Palace of Fontainebleau, ฝรั่งเศส: Château de Fontainebleau) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ราว 55 กิโลเมตรจากศูนย์กลางของกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นพระราชวังหลวงที่ใหญ่ที่สุดพระราชวังหนึ่งของฝรั่งเศส สิ่งก่อสร้างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นงานที่สร้างขึ้นและต่อเติมเปลี่ยนแปลงโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ ส่วนที่ก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นส่วนที่สร้างโดยพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 “พระราชวังฟงแตนโบล” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1981

ประวัติ


พระราชวังฟองแตนโบล เป็นพระราชวังที่สร้างมาตั้งแต่สมัยยุคกลาง แต่ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของพระราชวัง แห่งนี้คือตอนที่ นโปเลียน โบนาปาต ปกครองประเทศ พระราชวังฟองแตนโบลแห่งนี้ถูกใช้เป็น พระราชวังหลวงอย่างเป็นทางการในรัชสมัยของ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 นะครับ ราชฑูตสยามซึ่งรัชการที่ 6 ส่งมา ได้เข้าเฝ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ณ พระราชวังแห่งนี้ Fontainebleau ตั้งอยู่กลางป่าใหญ่ในอิล-เดอ-ฟรองซ์ สถานที่ในยุคกลางแห่งนี้กษัตริย์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ ทรงใช้เป็นที่พักในการล่าสัตว์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ภายหลังในศตวรรษที่ 16 ถูกเปลี่ยนแปลง ขยับขยายและตกแต่งใหม่โดยพระเจ้าฟรังซัวส์ที่ 1 ซึ่งทรงประสงค์ที่จะสร้างให้เป็น 'กรุงโรมแห่งใหม่' ท่ามกลางอุทยานที่รายล้อมอย่างหนาแน่น พระราชวังแบบอิตาลีแห่งนี้ ผสมผสานรสนิยม ทางศิลปะ แบบเรอเนซองส์และฝรั่งเศสเข้าด้วยกัน ปราสาทฟองแตนโบลนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคเรอเนซองซ์ (ราวคริสตวรรษที่ 16) ฉะนั้นการตกแต่งประดับประดาจึงงดงามหยดย้อย กษัตริย์หลายๆ ท่านใน สมัยนั้นนิยมอุปถัมภ์ศิลปินเพื่อให้ได้รังสรรค์ผลงานศิลปะ

พระราชวังหลวง วังฟงแตนโบลเดิมตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งที่ใช้สอยมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่สร้างโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 โดยมีทอมัส เบ็คเค็ทเป็นผู้ประกอบพิธีสถาปนาชาเปล ฟงแตนโบลเป็นที่ประทับอันเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 9
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างพระราชวังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันคือพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 โดยมีสถาปนิกชิลส์ เลอ เบรตอง (Gilles le Breton) เป็นผู้สร้างตัวตึกเกือบทุกหลังของ “ลานรูปไข่” (Cour Ovale) และรวมทั้ง “ประตูโดเร” (Porte Dorée) ที่เป็นทางเข้าด้านใต้ นอกจากนั้นพระเจ้าฟรองซัวส์ก็ยังทรงเชิญสถาปนิกเซบาสเตียโน แซร์ลิโอ จากอิตาลีมายังฝรั่งเศส และเลโอนาร์โด ดา วินชี ภายในตัวพระราชวังมีโถงระเบียงพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 (Francois I Gallery) ที่แล่นตลอดปีกหนึ่งของวังที่ตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังในกรอบปูนปั้นแบบต่างๆ โดยรอซโซ ฟิโอเรนติโน (Rosso Fiorentino) ที่เขียนระหว่าง ค.ศ. 1522 ถึง ค.ศ. 1540 ซึ่งโถงระเบียงแรกที่ได้รับตกแต่งอย่างวิจิตรในฝรั่งเศส โดยทั่วไปแล้วก็เรียกได้ว่าฟงแตนโบลเป็นการเริ่มยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศส


“ห้องเลี้ยงรับรอง” (Salle des Fêtes) ที่มาสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าอองรีที่ 2 ตกแต่งโดยฟรันเชสโก ปรีมาติชโช และ นิโคโล เดลาบาเต (Niccolò dell'Abbate) ส่วน “นิมฟ์แห่งฟงแตนโบล” ที่เขียนโดยเบนเวนูโต เชลลินิ (Benvenuto Cellini) ที่เขียนให้แก่ฟงแตนโบลในปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
การก่อสร้างครั้งใหญ่เริ่มขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระเจ้าอองรีที่ 2 และพระอัครมเหสีแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ ผู้ทรงจ้างสถาปนิกฟิลิแบร์ต เดอ ลอร์ม และ ฌอง บุลลองท์ (Jean Bullant) ต่อมาพระเจ้าอองรีที่ 4 ก็ทรงตกแต่งฟงแตนโบลของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 และ พระเจ้าอองรีที่ 2 โดยทรงเพิ่มลาน “Cour des Princes” และ “โถงระเบียงไดแอน เดอ ปัวติเยร์” และ “โถงระเบียงเซิร์ฟ” ที่ติดกันใช้เป็นห้องสมุด ในช่วงนี้ศิลปินของ “ตระกูลการเขียนฟงแตนโบลที่สอง” ก็เป็นผู้ดำเนินการตกแต่งแต่ก็ไม่มากเท่าใดนักและไม่เป็นงานต้นฉบับเท่ากับการตกแต่งในรัชสมัยของ “ตระกูลการเขียนฟงแตนโบลที่หนึ่ง” ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1




พระเจ้าอองรีที่ 4 ทรงสร้างคลองขุดยาว 1200 เมตรในอุทยานป่าโปร่งที่ในปัจจุบันใช้ตกปลาได้ และทรงมีพระบรมราชโองการให้ปลูกสน, เอล์ม และไม้ผล อุทยานป่าโปร่งมีเนื้อที่ราว 80 เฮ็คตารโดยมีกำแพงร้อมรอบและถนนเป็นระยะๆ พนักงานอุทยานของพระเจ้าอองรีที่ 4 โคลด โมลเลต์ (Claude Mollet) ผู้ได้รับการฝึกหัดที่วังดาเนต์ (Château d'Anet) วางผังสวนแบบสวนพาร์แทร์ (Parterre) นอกจากนั้นก็ยังทรงสร้าง “jeu de paume” (ห้องเล่นเทนนิสโบราณ (Real tennis)) ที่ยังคงมีอยู่ให้เห็น ซึ่งเป็นห้องเล่นเทนนิสโบราณที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เป็นของสาธารณะ


พระเจ้าฟิลิปที่ 4, พระเจ้าอองรีที่ 3 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ต่างก็เสด็จพระราชสมภพที่ฟงแตนโบล และพระเจ้าฟิลิปเสด็จสวรรคตที่นี่ แขกของพระราชวังที่สำคัญๆ ก็ได้แก่สมเด็จพระราชินีนาถคริสติน่าแห่งสวีเดนผู้เสด็จมาประทับอยู่เป็นเวลาหลายปีหลังจากที่ทรงสละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1654 ในปี ค.ศ. 1685 ฟงแตนโบลก็ใช้เป็นที่ลงนามพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบลที่เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ (ค.ศ. 1598) ฟงแตนโบลเป็นที่ประทับของพระราชอาคันตุกะของกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บองที่รวมทั้งพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย และพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก



การปฏิวัติและจักรวรรดิ


ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสฟงแตนโบลถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "Fontaine-la-Montagne" (น้ำพุใกล้เนินเขา, เนินเขาที่อ้างถึงคือบริเวณแนวเนินหินที่ตั้งอยู่ในป่าฟงแตนโบล) เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระราชวังก็ตกอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเฟอร์นิเจอร์เดิมก็ถูกขายทอดไป ในช่วงเดียวกับที่เฟอร์นิเจอร์ของพระราชวังหลวงของฝรั่งเศสทั้งหลายถูกทำลายและขายไปจากทุกพระราชวังเพื่อหาทุนในการต่อต้านไม่ให้ราชวงศ์บูร์บองเข้ามาใช้ได้อีก แต่จะอย่างไรก็ตามภายในสิบปีหลังจากนั้นจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ก็ทรงเปลี่ยนโฉมของฟงแตนโบลให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความมียิ่งใหญ่และความรุ่งเรืองของฝรั่งเศสแทนที่พระราชวังแวร์ซายส์ที่ถูกทิ้งว่างไว้ ในปี ค.ศ. 1804 จักรพรรดินโปเลียนก็ทรงเจ้าภาพต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 ที่ฟงแตนโบลเมื่อเสด็จมาทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และอีกครั้งระหว่างปี ค.ศ. 1812 ถึงปี ค.ศ. 1814 เมื่อพระสันตะปาปาทรงถูกนำตัวมาเป็นนักโทษของนโปเลียน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1807 มานูเอล โกดอยมนตรีในพระเจ้าคาร์ลที่ 4 แห่งสเปน และ จักรพรรดินโปเลียนก็ลงนามในสนธิสัญญาฟงแตนโบลที่สเปนอนุญาตให้ฝรั่งเศสเดินทัพผ่านสเปนเพื่อไปรุกรานโปรตุเกส
เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1814 ไม่นานก่อนที่จักรพรรดินโปเลียนจะทรงสละราชสมบัติ พระองค์ก็ทรงล่ำลากองทหารรักษาพระองค์เดิมที่รับราชการกับพระองค์มาตั้งแต่การรณรงค์ทางทหารครั้งแรกที่ “ลานม้าขาว” (la cour du Cheval Blanc) ที่หน้าวังฟงแตนโบล ซึ่งตั้งแต่นั้นมาก็ได้รับการเรียกว่า “ลานแห่งการอำลา” สนธิสัญญาฟงแตนโบล แห่ง ค.ศ. 1814 ปลดจักรพรรดินโปเลียนจากอำนาจ (แต่มิได้ถอดพระองค์ออกจากการเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส) และเนรเทศพระองค์ไปยังเกาะเอลบา

ในเดือนกรกฎาคม และ สิงหาคม ค.ศ. 1946 เมืองฟงแตนโบลก็เป็นเจ้าภาพการประชุมฝรั่งเศส-เวียดนามที่มีวัตถุประสงค์ในการหาวิธีแก้ปัญหาการแสวงหาอิสรภาพของเวียดนามจากฝรั่งเศส แต่เป็นการประชุมที่ประสบความล้มเหลว




ลักษณะสถาปัตยกรรม



ฟงแตนโบลเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นแรกที่นำฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคแมนเนอริสม์ในด้านการตกแต่งภายใน และทางด้านการออกแบบตกแต่งสวน การตกแต่งภายในแบบแมนเนอริสม์ของฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เรียกกันว่าการตกแต่ง "แบบฟงแตนโบล" ที่เป็นการตกแต่งที่รวมทั้งงานประติมากรรม, งานโลหะ, จิตรกรรม, งานปูนปั้น และงานไม้ ส่วนภายนอกสิ่งก่อสร้างก็เริ่มมีการสวนแบบสวนลวดลาย (parterre) ฟงแตนโบลรวมจิตรกรรมที่เป็นอุปมานิทัศน์เข้ากับงานปูนปั้นที่เป็นกรอบรอบที่ตกแต่งคล้ายม้วนที่รวมลายอะราเบสก์ และลายวิลักษณ์ ความสวยของสตรีในอุดมคติของจิตรกรรมแบบฟงแตนโบลจะเป็นความสวยแบบแมนเนอริสม์: หัวเล็กบนคอยาว, เรือนร่างและแขนขาจะยาวกว่าปกติ หน้าอกเล็กและสูง—ที่เหมือนจะกลับไปมีลักษณะของปลายกอธิค งานศิลปะที่สร้างที่ฟงแตนโบลได้รับการบันทึกอย่างละเอียดเป็นงานพิมพ์ที่เป็นที่แพร่หลายกันในบรรดานักนิยมศิลปะ และ ศิลปินเอง งานที่สร้างเป็นงานพิมพ์จาก "ตระกูลการเขียนแบบฟงแตนโบล" ที่เป็นลักษณะของการงานศิลปะแบบใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์เผยแพร่ไปยังบริเวณทางตอนเหนือของยุโรป โดยเฉพาะที่อันท์เวิร์พ และเยอรมนี และในที่สุดก็ไปถึงอังกฤษ

ปัจจุบัน


ในปัจจุบันฟงแตนโบลเป็นที่ตั้งของสถาบันศิลปะอเมริกันฟงแตนโบล (Écoles d'Art Américaines) ซึ่งเป็นสถาบันสำหรับนักศึกษาศิลปะ, สถาปัตยกรรม และ ดนตรีจากสหรัฐอเมริกา สถาบันก่อตั้งขึ้นโดยนายพลจอห์น เจ. เพอร์ชิง (John J. Pershing) เมื่อมาตั้งกองบัญชาการอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง



สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง



พระราชวังแวร์ซายส์



พระราชวังแวร์ซายส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย


หอไอเฟล (La Tour Eiffel)



สัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส และหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของโลก ซึ่งออกแบบโดย “กุสตาฟ ไอเฟล” หอไอเฟลเป็นหอคอยโครงสร้างเหล็ก ตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ ใกล้กับแม่น้ำแซน หอไอเฟลจัดเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเลิศ สัญลักษณ์แห่งเมืองปารีสและฝรั่งเศส ผสานไว้ซึ่งความแข็งแกร่ง สง่างาม และความวิจิตรของความเป็นปารีสไว้ได้อย่างชาญฉลาด จากการสร้างสรรค์ของกุสตาฟ ไอเฟล เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสทั้งในด้านเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีในงานเอ็กซ์โปปี ค.ศ. 1889 สร้างด้วยเหล็กกล้าร่วม 10,000 ตัน มีความสูงรวมเสาอากาศ 324 เมตร สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น และมีบันไดถึง 1,665 ขั้น และความสูงของหอไอเฟลนั้นสามารถยืดได้หดได้ตามสภาพอากาศแต่ละวัน ด้วยความที่สร้างจากเหล็กจึงทำปฏิกิริยากับอุณหภูมิร้อนหนาวที่เข้ามากระทบ โดยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นบันไดหรือลิฟต์เพื่อชมวิวกรุงปารีสจากหอไอเฟลได้ทุกวัน ตั้งแต่ 9.00 - 4.00 น. โดยจะต้องเสียค่าขึ้นหอคอยตามจำนวนชั้นที่ต้องการขึ้นชม ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 ชั้น (รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่) ปารีสเขาก็มีมุมที่สามารถมองเห็นและถ่ายรูปหอไอเฟลได้สวยที่สุด ที่ลานทรอคาเดโร หรือ “Place du Trocadero” ที่เราจะได้เห็นหอไอเฟลกันแบบเต็มตา


ประตูชัยฝรั่งเศส (L’Arc de Triomphe de l'Étoile)



อนุสรณ์สถานสำคัญของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนชองป์ส-เซลีเซส์ กลางจัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (Place Charles-de-Gaulle) หรือชื่อเดิมคือจัตุรัสเอตวลล์ (Place de l'Étoile) ซึ่งมีความหมายว่าจัตุรัสแห่งดวงดาว เพราะมีถนนถึง 12 สายมาบรรจบกันที่นี่ ทำให้มีลักษณะเหมือนดวงดาวจึงเป็นที่มาของชื่อจัตุรัส โดยประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1806 หลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับชัยชนะในยุทธการเอาสเตอร์ลิทซ์ เพื่อเป็นการสดุดีวีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน สงครามนโปเลียน ปัจจุบันเป็นสุสานของทหารนิรนาม ประตูชัยมีความสูง 49.5 เมตร กว้าง 45 เมตร และลึก 22 เมตร เป็นประตูชัยที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก การเข้าไปยังประตูชัยด้วยการเดินนั้นควรใช้ทางเดิน ใต้ดิน การเดินบนถนนไม่ค่อยจะปลอดภัยนัก เนื่องจากการจราจรที่คับคั่งที่บริเวณจัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ บนยอดของประตูชัยเป็นจุดชมวิวกรุงปารีสที่ดีที่สุดอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากสามารถมองเห็นถนนใหญ่ 12 สายมาบรรจบกันเสมือนเป็นดาวกระจาย นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปบนประตูชัยได้โดยเสียค่าขึ้นชม 9 ยูโร และขึ้นชมได้ตั้งแต่ 10.00 - 23.00 น.


ชองป์ส-เซลีเซส์ (L’avenue des Champs-Elysées)


ถนนชื่อก้องโลกที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในโลก เริ่มต้นถนนจากจัตุรัสกองกอร์ (Place de la Concorde) ไปสุดที่จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ บริเวณประตูชัยฝรั่งเศส รวมระยะทางยาว 1,910 เมตร ส่วนความกว้างเท่ากับ 70 เมตร บนถนนสายนี้เต็มไปด้วยโรงแรมมากมายหลายระดับ ร้านอาหารชื่อดัง คาเฟ่ ร้านขายสินค้า แฟชั่น สินค้าแบรนด์เนมชื่อดังมากมาย อย่าง หลุยส์ วิตตอง ห้างดังจากสวีเดนอย่าง H&M ร้านเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่ Sephora เป็นต้น

ที่พัก

- Hotel Lumen (15, rue des Pyramides 75001 Paris Tel: +33 1 44 5077 01
Fax: +33 1 44 5077 10 www.hotel-lumenparis.com) บูติกโฮเต็ลสุดเก๋ใจกลางเมืองปารีส ด้วยโลเกชั่นชั้นเยี่ยม เพราะอยู่ตรงกลางระหว่างย่านศิลปะและแฟชั่นชั้นสูงของปารีส อย่างพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โรงละคร โอเปร่า และถนน Saint- Honore จึงเหมาะสำหรับการช้อปปิ้งเป็นที่สุด แถมยังอยู่ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินอีก ต่างหาก

-Hotel le Wallt (37 Avenue de la Motte Picquest Paris www.hotel-walt-paris.federal-hotel.com) บูติกโฮเต็ลอีกแห่ง ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับหอไอเฟล ตกแต่งในสไตล์โมเดิร์น สะอาด สะอ้าน ห้องพักกว้างขวาง สวยงาม ทันสมัย


ของฝากจากปารีส


มาปารีสเป็นเมืองแห่งแฟชั่น ดังนั้นจึงเลือกซื้อของฝากกันได้ตามอัธยาศัย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง หรือน้ำหอม รวมถึงอาหารการกินที่มีให้เลือกสารพัดสารพัน



- Louis Vuitton ไม่ว่าจะแขกไปใครมาเป็นต้องแวะหรือไม่ก็ต้องฝากซื้อกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง กันเป็นส่วนมากไม่ว่าจะเป็นสาขาหลักที่เป็นแฟลกชิปสโตร์บนถนนชองป์ เซลิเซ่ หรือในห้างดังอย่าง แกลอรี่ ลาฟาแยตต์ ที่มักจะอุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยนักช้อปจากทั่วโลก


-Hediard (21, Place de la Madeline) ถ้าช้อปกันจนหมดแรงแล้ว จะแวะเติมพลังด้วย “Maron Glace” หรือเกาลัดเชื่อมน้ำตาล ที่นักกินทั่วโลกยกนิ้วให้ว่า มารอง กลาเซ่ ที่ปารีสนั้นเด็ดที่สุด แม้ทั่วปารีสจะมี มารอง กลาเซ่ ขายอยู่ทั่วไป แต่ที่อร่อยที่สุดต้องที่ร้านนี้เท่านั้น เพราะหวานอร่อยติดปลายลิ้นจนไม่อยากให้ละลายในปาก รับรองได้เลยว่าซื้อมาฝากใครจะถูกใจคนรับเป็นที่สุด

-Goyard (223 Rue St. Honore Paris) ร้านกระเป๋าเดินทางเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่ยังคงความคลาสสิก เป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง โดยเฉพาะราชวงศ์อังกฤษ โดยแบรนด์คลาสสิกนี้สืบต่อกันมาถึง 5 รุ่น ปัจจุบันกลับมาได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่แวดวงคนแฟชั่น กระเป๋าเดินทางแบรนด์โกยาร์ดจึงกลายเป็นของฝากจากปารีสที่ใครไปต้องได้รับออร์เดอร์ให้ซื้อมาฝาก


- Fauchon (26, place de la Madeleine 75008 Paris Mero: Madeine Tel: +33 1 7039 3800) ร้านขนมและอาหารแบบ Ready To Eat กินง่ายๆ ภายในร้าน อย่างแซนด์วิชต่างๆ สำหรับมื้อกลางวันง่ายๆ ของ คนทำงาน หรือดินเนอร์กับเมนูง่ายๆ แต่มีสไตล์ แกล้มไวน์หรือแชมเปญ ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับคนรักอาหารแล้วยังมีของกินสไตล์ฝรั่งเศส อย่าง ตับบด ฟัวกราส์ เป็ดแช่เกลือ ฯลฯ ให้เลือกช้อปเป็นของฝากอีกเพียบ

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553


แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง ของที่ระลึก อาหาร






1. เขตทะเลสาบ Salzkammergut


ห่างจากตัวเมืองซาล์สบวร์กมา 50 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถใช้เวลาอย่างมีความสุขไปกับกิจกรรมพิเศษ 2 อย่างนั่นคือ การล่องเรือในทะเลสาบวูล์ฟกัง
และการนั่งรถชมทัศนียภาพบนภูเขา Schafbergเรือกลไฟของจักพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 เริ่มออกเดินเรือครั้งแรกจากวูล์ฟกัง ซีในปี 1873 และได้รับการยกย่องให้เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีครั้งใหม่ในยุคสมัยนั้น เรือที่มีขนาด 33 เมตรลำนี้ยังได้ประกอบอยู่ในภาพยนต์หลายเรื่องรวมทั้งได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Lake Wolfgang Shipping Company ต่อมา


2.รางรถไฟที่สูงชันที่สุดในออสเตรียและใช้พลังงานไอน้ำถูกสร้างขึ้นในปี 1893 โดย
เริ่มจากเซนท์ วูล์ฟกังไปจนถึงยอดเขา Schafberg การเดินทาง 5.85กิโลเมตรขึ้นไปบนยอดเขาที่มีความสูง 1190 เมตรแห่งนี้ใช้เวลาประมาณ 40 นาที แต่ละเมตรที่คุณเดินทางสูงขึ้นไปหมายถึงการมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเขตทะเลสาบ Salzkammergut ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ และเส้นแบ่งระหว่างอัลไพน์และเทือกเขา Dachstein ก็สามารถมองเห็นได้จากรถไฟสายนี้เช่นกัน


3. ป้อมปราการ Hohenwerfen


เพียง 60 กิโลเมตรจากตัวเมืองซาล์สบวร์ก ป้อมปราการ Hohenwerfen อายุ 900 ปีตั้งตระหง่านอยู่ในหุบเขาแม่น้ำซาล์สซัคท่ามกลางขุนเขาสุง นักผจญภัยและผู้ที่หลงรักวัฒนธรรมจะได้พบกับสิ่งที่พวกเขามองหาที่ Hohenwerfen แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบรรดาอาวุธที่จัดแสดงอยู่ ปราสาทร้านรวงอันแสนโรแมนติก ร้านค้ายุคกลาง และ Falconry Center อันเก่าแก่ที่ยังคงมีการจัดแสดงโชว์การบินของเหยี่ยวทุกวัน ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับกีฬาล่าเหยื่อด้วยนกเหยี่ยวที่แรกในออสเตรีย และนอกจากการล่าเหยื่อของเหยี่ยวแล้ว ยังมีกิจกรรมสันทนาการอื่นๆอีกมากมายให้ทำรวมถึงการทัวร์ป้อมปราการด้วย



4.เทือกเขาแอลป์ กับอากาศอันบริสุทธิ์และน้ำที่สะอาดจนดื่มได้
ภูเขาแอลป์ปกคลุมพื้นที่ถึง 2 ใน 3 ของออสเตรีย มันกินอาณาบริเวณกว้างจนเกือบถึงทางตะวันออกสุดของประเทศ นั่นคือ เวียนนา วิวทิวทัศน์อันงดงามและอากาศบริสุทธิ์ช่วยการันตีว่าผู้มาเยือนจะสามารถหลบหลีกความกดดันที่เผชิญอยู่ทุกวันและพบกับการพักผ่อนที่แท้จริงได้ที่นี่ ทั้งชาวออสเตรียและนักท่องเที่ยวต่างเดินทางมายังสถานที่ซึ่งเปรียบเหมือนสนามเด็กเล่นขนาดใหญ่แห่งนี้ตลอดทั้งปี พวกเขามาเพื่อทำกิจกรรมหลากหลายไม่ว่าจะเป็น การเล่นสกี ปีนเขา เดินเล่น ไต่เขา ขี่จักรยานภูเขา หรือแม้กระทั่งเล่นกอล์ฟ






5.สวนตามธรรมชาติ ที่มีพื้นที่ถึงร้อยละ 3 ของประเทศทำให้เห็นว่าออสเตรียมีภูมิประเทศอันหลากหลาย ซึ่งแต่ละที่จะมีบริเวณที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นธรรมชาติอยู่ ยกตัวอย่างเช่นเขตป่าฝน และ Virgin Forest ส่วนภูเขาที่ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Hohe Tauern คือภูเขาที่มีความสูงที่สุดของออสเตรียมีชื่อว่ากรอสล็อกแนร์ ภูเขาแห่งนี้มีความสูงถึงเกือบ 12,500 ฟุต หรือ 3,800 เมตรเลยทีเดียว


6. ถนนย่านการค้าที่มีชื่อเสียงเก่าแก่ของเมืองคือถนนเกทรัยเดอกาสเซอ (Getreidegasse) เป็นย่านการค้าสำคัญของเมืองมาตั้งแต่ยุคกลาง รู้สึกว่าสมัยก่อนเป็นย่านขายปลา แต่ปัจจุบันเป็นแหล่งช้อปปิ้งของนักท่องเที่ยว

อาหารท้องถิ่น


อาหารออสเตรียส่วนใหญ่จะเป็นอาหารพวก ลาชเนื้อ ซุปใสใส่ก้อนแป้งดัมปลิง ซุปใสใส่แพนเค้กหั่นฝอย วีนเนอร์สนิตเชิล หมูชุบแป้งขนมปังทอด ไส้กรอกหลายแบบ และเนื้อย่างที่มีสารพัดชนิดให้เลือกชิมตามภัตตาคารของโรงแรม ที่พักในออสเตรีย ส่วนขนมหวานของเขาจะเป็นแบบโฮมเมดคล้ายๆ ขนมปังฟูๆ ชื่อว่า Buchteln นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่ห้ามพลาดสำหรับคนที่ชื่นชอบการกินเค้กกับ ช็อกโกแล็ตเมื่อได้มีโอกาสไปออสเตรีย คือ เค้กช็อกโกแลตสอดไส้แยมส้ม "ซักเคอร์ ทอร์เตอร์



แถวนี้มีร้านขายไข่อีสเตอร์เยอะมาก เพนต์สีสวย ๆ แต่เหมือนว่าจะขายทั้งปีเลยนะ ไม่น่าจะเป็นเฉพาะช่วงอีสเตอร์







มาซาลส์บวร์กก็ต้องลองชิมแอปเปิ้ลชตรูเดิล (Apple Strudel)




รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม

รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม


ศิลปะแบบโมเดิร์นใน เมืองซาร์ลบวร์ก (Modern Art in Salzburg) ผลงานชิ้นใหม่ที่ถูกสร้างเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อนำมาวางเคียงข้างกับศิลปะล้ำค่าที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยบาโรค ทำให้เกิดการเปรียบเทียบอย่างสร้างสรรค์ขึ้นในสายตาผู้พบเห็น




บุคคลสำคัญ


โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart 1756-1791)
ผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่อีกผู้หนึ่งในสมัยคลาสสิกเป็นชาว ออสเตรีย กำเนิดในครอบครัวนักดนตรี เมืองซาลส์บวร์ก(Salzbutrg) เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1756 ถึงแก่กรรมที่ เวียนนา วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1791 และมีชื่อเสียงในงานประพันธ์ดนตรีประเภทซิมโฟนีเชมเบอร์ มิวสิกและโอเปร่าเมื่อเขาอายุ 4 ปี เขาสามารถเรียนดนตรีได้ครั้งละครึ่งชั่วโมงเมื่ออายุ 5 ปี เขาสามารถเล่นคลาเวียร์ ได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ เขาเขียนซิมโฟนีชิ้นแรกเมื่อเขาอายุ 8 ปี เขาเดินทางทั่วยุโรปกับพ่อของเขาชื่อ เลโอโปลด์ โมสาร์ท (Leopard Mozart 1719 –1787) ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และบางครั้งเป็นนักประพันธ์เพลงและเป็นผู้กำกับนักร้องประสานเสียงหรือวงออร์เคสตรา ในราชสำนักของ อาร์ชบิชอพที่ซาลส์บวร์ก(Archbishop of Salzburg) ทักษะทางคนตรีของเขาได้ปรากฏต่อ ราชสำนักครั้งแรกที่เมืองมิวนิคในปี1762 และปรากฏต่อสาธารณะชนในระหว่างอายุ 7ถึง 15 ปี เขาใช้เวลาครึ่งหนึ่งในชีวิตในการเดินทางท่องเที่ยวไปเขาจึงซึมซับและเรียนรู้สำนวนดนตรีของยุโรปอย่างหลากหลาย สะสมจนเป็นสไตล์ของตัวเอง
ในปี 1777 เขาท่องเที่ยวไปกับมารดาของเขาที่เมืองมิวสิค แมนเฮม และปารีส และที่ ปารีส มารดาของเขาได้ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันในเดือนมกราคม 1778 เขาตกงาน จึงกลับไปที่บ้านเกิดในปี1779 และได้เป็นนักออร์แกนของราชสำนักอาร์ชบิชอพ ที่ซาลส์บวร์ก (Archship of Salzburg)และถูก ปลดออกในปี 1781 หลังจากนั้นเขากลายเป็นนักดนตรีอิสระคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ดำเนินชีวิต
โดยไม่ขึ้นกับราชสำนักหรือโบสถ์หรือผู้อุปถัมถ์ใด ๆ เขาย้ายไปที่เวียนนาและได้อยู่กับครอบครัว เวเบอร์ (The Webers) ซึ่งเป็นครอบครัวที่เขาพบในปี 1777 เขาแต่งงานกับคอนสตันซ์ เวเบอร์
(Constanze Weber) ในเดือนสิงหาคม 1782 หลังจากนั้นไม่นานทุกอย่างเริ่มดีขึ้น ในปี 1782

เริ่มด้วยผลงาน The Singspiel Die Entfuhrung ans dem Serail (The Abduction from the Seraglio)
โมสาร์ทอาจจะเป็นนักประพันธ์คนเดียวในประวัติศาสตร์ที่เขียนเพลงอย่างประณีตทุกรูปแบบของดนตรีตลอดชีวิตของเขา ผลงาน ประเภทเซเรเนด (Serenades), Divertimenti,Dances ที่เขาเขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงและงานปาร์ตี้ของขุนนาง ล้วนเป็นความยิ่งใหญ่ของสมัยคลาสสิก (Classical age of elegance)และถูกดัดแปลงโดยนักประพันธ์ชื่อ Eine Kleine Nachtmusik เป็น Serenade in G major
ในเวียนนาเขาเป็นคนสำคัญในราชสำนักของจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 (Joseph1741 – 1790) ที่ซึ่งเขาได้เขียนดนตรีที่ยิ่งใหญ่มากมาย


ตัวอย่างเช่น The last string quartets, The string quintets, The quintet for clarinet and strings, The mass in C major, Requiem (ซึ่งเขาเขียนยังไม่เสร็จ), The Serenade for thirteen wind instruments, The Clarinet connect, และ The late piano concerto นอกจากนี้ Piano concerto ของเขายังคงมีรูปแบบของ The classic concerto form เขาปรับปรุงพัฒนามาเป็นงานของ Symphonic breadth and scope, Concerto ของเขามักเริ่มต้นด้วยรูปแบบโซนาตาในท่อนที่ 1 ตามด้วยท่อนที่ 2 ที่นุ่มนวลและเป็นทำนองเพลงโดยปกติมีเพลงที่มีชีวิตชีวารวมอยู่ด้วยพร้อมทั้งมี รอนโด (Rondo) หมายถึงเพลงที่บรรเลงโดยการย้อน ที่ดึงดูดความสนใจ เช่น The piano concerto no.22 in E flat ในซิมโฟนี 3 ชิ้นสุดท้าย ชิ้นที่ 2 คือ Symphony no.40 in G minor เขาได้ใส่ passion และการแสดงออกซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในการเขียนซิมโฟนีจนกระทั่งถึงสมัยของ เบโธเฟน (Beethoven)


งานด้านอุปรากรนั้นในปี ค.ศ. 1786 โมสาร์ทได้ร่วมมือกับลอเรนโซ ดา พอนเต้ (Lorenzo
Da Ponte) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำโรงละครหลวงในกรุงเวียนนาเขียน The marriage of Figaro
ขึ้น อุปรากรเรื่องนี้เมื่อแสดงครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้แต่ต่อมามีคนนำไปแสดงที่
กรุงปร๊าค นครหลวงของโบเฮเมีย ประเทศเชคโกสโลวาเกีย ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ค.ศ. 1787
เขียนอุปรากรเรื่อง ดอน โจวันนี (Don Giovanni) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของชายหนุ่มนัก
รักที่ชื่อว่า ดอน จิโอวันนี หรือดอน ฮวน (Don Juan) ได้สำเร็จ
ในระหว่างที่เขาอยู่ที่เวียนนาได้เป็นเพื่อนสนิทกับไฮเดิล (Franz Joseph Haydn) ซึ่งมีอิทธิพลต่อผลงานของเขาในระหว่างปี 1782 – 1785 โมสาร์ท (Mozart) ได้ประพันธ์ Six string quartets ซึ่งอุทิศให้ ไฮเดิล บางส่วนเขาทั้งสองเล่นด้วยกัน ด้วยการจัดการการเงินที่ผิดพลาดและด้วยความไม่มีประสบการณ์ชีวิตขาดการไตร่ตรอง และความประพฤติที่เหมือนเด็กที่ปีกกล้าขาแข็งและใช้ชีวิตอย่างเจ้านายทำให้เขาตกระกำลำบาก ในการดำเนินชีวิตภายในปี 1790 เขาได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนหลายคนบรรยายถึงเขาและครอบครัว ( เขาและภรรยามีลูกด้วยกัน 6 คน มีชีวิตรอดอยู่เพียง 2 คน ) ความลำบากจนต้องขอ ทานเพื่อยังชีพ และในระหว่างนี้เอง เขาก็ป่วยหนักด้วยโรคไตแต่ด้วยความสำเร็จของ The Magic Flute เขาได้รับเงินจ่ายประจำปี เขาจึงเริ่มต้นมีความมั่นคงทางการเงินอีกครั้งในขณะที่โรคของเขานำเขาไปสู่ความตายเมื่อเขาอายุได้ 36 ปี เขาถูกฝังเหมือนชาวเวียนนาทั่วไปโดยคำบัญชาของจักรพรรดิ์โจเซฟในหลุมศพสามัญทั่วไปซึ่งที่ ฝังศพแน่นอนจนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบ


นักประพันธ์ในปลายศตวรรษที่ 19 ที่บูชาและยกย่องเขามากได้แก่ Richard Wagner และ Peter Tchaikovsky และดนตรีของเขามีอิทธิพลต่อ The neo – classical compositions ของ Igor Stravinsky และ Sergei Prokofiev ในศตวรรษที่ 20

เมืองซาลส์บวร์ก (Salzburg) ต่อ

ที่ตั้งและภูมิประเทศ

) มีฉากหลังเป็นเทือกเขาแอลป์ เป็นเมืองชายแดนก่อนจะข้ามไปสู่แคว้นบาวาเรียของประเทศเยอรมนี เรียกว่าระยะทางแค่ปาหินถึงเท่านั้นเอง เมืองซาลส์บวร์กอยู่ทางตะวันออกของมิวนิกประมาณ 150 กิโลเมตร สามารถใช้ตั๋วรถไฟ Bayern ticket ของรัฐบาวาเรียในประเทศเยอรมนีได้มาถึงเมืองนี้ได้ เป็นเมืองน่ารักงดงามทั้งผู้คน ธรรมชาติ และอาคารบ้านเรือน ซาลส


เมืองซาลส์บวร์กตั้งอยู่ริมแม่น้ำซาลส์ซักค์ (Salzachบวร์ก มีจุดเด่นคือน้ำในแม่น้ำซาลจะมีสีออกเขียวมรกตสวยงามมาก สาเหตุเพราะมีเกลืออยู่มาก เนื่องจากพื้นที่แถบนี้มีเหลือปะปนอยู่ในดินมากกว่าที่อื่นจึงได้ชื่อว่า ซาลสบวร์ก แปลว่า ปราสาทเกลือ เมืองนี้ตั้งอยู่ประมาณกึ่งกลางระหว่างอินส์บรูคและเวียนนาจึงมีลักษณะที่กึ่งภูเขากึ่งที่ราบ ทางด้านทิศตะวันตกของเมืองจะเป็นภูเขา ซึ่งมียอดเขาสูงให้นักท่องเที่ยวนั่งรถกระเช้าขึ้นไปสัมผัสกับหิมะ ในขณะที่ทิศตะวันออกจะเป็นที่ราบเป็นที่ตั้งของตัวเมือง









ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์





คำว่าซาลส์ (Salz) ในภาษาเยอรมันแปลว่าเกลือ ซาลส์บวร์กแปลตามตัวได้ว่าปราสาทเกลือ ซึ่งเป็นคำเปรียบเทียบเรือขนเกลือว่าเหมือนเป็นปราสาทเกลือ ดินแดนแถบนี้เป็นแหล่งค้าเกลือเก่าแก่มาแต่โบราณ เกลือทำหน้าที่ถนอมอาหาร ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในแถบเมืองหนาว ฉะนั้นใครมีเกลือจึงเปรียบเสมือนมีทองคำเลยทีเดียว แถวนี้จึงมั่งคั่งร่ำรวยมาตั้งแต่อดีตยุคโรมัน

ซาลส์บวร์ก เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของออสเตรีย (www.ana.com) และมีผู้คนเดินทางมาเยือนเป็นอันดับ 2 รองจากเวียนนาตั้งขึ้นมาก่อนยุคโรมัน และก้าวขึ้นสู่ยุครุ่งเรืองที่สุดในศตวรรษที่ 16 และ 17 โดยเป็นแคว้นอิสระภายใต้การปกครองของอาร์คบิชอปผู้ครองแคว้นซาลส์บวร์ก ร่ำรวยมาจากการทำเหมืองเกลือและค้าขาย (ซาลส์บวร์กแปลว่าเมืองแห่งเกลือ) การที่อาคารโบราณสถานต่างๆ ที่ยังคงรักษาสภาพเหมือนเมื่อ 300 กว่าปีก่อนไว้



ในอดีตซาลส์บวร์กเป็นรัฐอิสระปกครองด้วยอาร์ชบิชอป (archbishop) ซึ่งเป็นตำแหน่งของพระในศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก (เช่นเดียวกับที่วาติกันถูกปกครองด้วยพระสันตะปาปา) จึงเป็นศูนย์กลางของศาสนาทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์

เมืองซาลส์บวร์ก (Salzburg)


เมืองซาลส์บวร์ก (Salzburg)





ซาลส์บวร์กเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศออสเตรีย และเป็นเมืองอันดับต้นๆ ของออสเตรียที่มีผู้คนไปเยือนเป็นจำนวนมาก ที่นี่เต็มไปด้วยศิลปะแบบบาโรคจนได้ชื่อว่าเป็นนครหลวงแห่งศิลปะบาโรค เป็นบ้านเกิดของคีตกวีเอกของโลก วูฟกังก์ อมาเดอุส โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อมตะเรื่อง The Sound of Music และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี ค.ศ. 1997 อีกด้วย


เมืองในยุโรปส่วนใหญ่ประกอบด้วยโบสถ์ จัตุรัส หอคอยสูง รูปปั้น เมืองซาลส์บวร์ก (Salzburg) นอกจากจะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยโบสถ์ ปราสาท และพระราชวัง และยังเป็นเมืองที่จัดงานประจำปีที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกอย่าง Salzburg Festival นอกจากนั้น เขตเมืองเก่าที่งดงามยังได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกจากองค์กรยูเนสโก้อีกด้วย งานเทศกาลต่างๆที่มีจัดขึ้นในเมืองกว่า 4000 งานหล่อหลอมให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองทีมีความสำคัญทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป ป้อมปราการ Hohensalzburg ซึ่งเป็นเป็นสัญลักษณ์ของเมืองถือเป็นป้อมที่ยังคงสภาพเดิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรปตอนกลาง จากป้อมนี้ คุณจะสามารถมองเห็นวิวอันน่าตื่นตาตื่นใจของเมืองซาล์สบวร์กได้ สำหรับบ้านเกิดของโมซาร์ทนั้นตั้งอยู่ที่ Getreidegasse ถนนช็อปปิ้งที่น่าดึงดูดใจที่สุดของเมือง ด้วยบรรดาตึกทรงสูงแคบและลานบ้านอันแสนโรแมนติก นอกจาจะมีทุกสิ่งที่ว่ามาแล้ว ยังมีธรรมชาติและทิวทัศน์อันสวยสดงดงามเนื่องจากอยู่ใกล้เทือกเขาแอลป์ นอกจากนั้นยังเป็นที่ชุมนุมของผู้ที่ชื่นชอบในดนตรีอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว

สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว



สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว (Royal Botanic Gardens, Kew) หรือที่รู้จักกันในชื่อ สวนคิว (Kew Gardens) มีพื้นที่ 121 เฮกตาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่สวนและเรือนกระจกรวมกัน ตั้งอยู่ระหว่างเมืองริดมอนด์และคิวในทางตะวันตกเฉียงใต้ของลอนดอน ประเทศอังกฤษ สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิวนั้นรวมเอาสวนคิวและสวนเวกเฮอร์ต เพรซ (Wakehurst Place) ในซัสเซ็กซ์ไว้ด้วยกัน มันเป็นสถาที่สำหรับศึกษาและวิจัยทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญในระดับสากล มีคนงาน 700 คน มีรายได้ £56 ล้านในหนึ่งปี (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2008) มีคนมาเยี่ยมชมมากกว่า 2 ล้านคนในปีนั้น สวนคิวเป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนโดยจากกรมสิ่งแวดล้อมอาหาร และหน่วยงานชนบท สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1759 และสวนพึ่งจะฉลองครบรอบ 250 ปีไปในปี ค.ศ. 2009








สวนคิวมีต้นไม้สะสมจากทั่วโลกมากที่สุด มีลูกจ้างเป็นนักวิทยาศาสตร์ถึง 650 คน ต้นไม้สะสมมีมากกว่า 30,000 ชนิด มีหอพรรณไม้ใหญ่ที่สุดในโลก มีตัวอย่างพืชมากกว่า 7 ล้านตัวอย่าง ห้องสมุดมีหนังสือมากกว่า 750,000 เล่ม และมีภาพวาดของต้นไม้มากกว่า 175,000 ภาพ