วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว

สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว



สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว (Royal Botanic Gardens, Kew) หรือที่รู้จักกันในชื่อ สวนคิว (Kew Gardens) มีพื้นที่ 121 เฮกตาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่สวนและเรือนกระจกรวมกัน ตั้งอยู่ระหว่างเมืองริดมอนด์และคิวในทางตะวันตกเฉียงใต้ของลอนดอน ประเทศอังกฤษ สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิวนั้นรวมเอาสวนคิวและสวนเวกเฮอร์ต เพรซ (Wakehurst Place) ในซัสเซ็กซ์ไว้ด้วยกัน มันเป็นสถาที่สำหรับศึกษาและวิจัยทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญในระดับสากล มีคนงาน 700 คน มีรายได้ £56 ล้านในหนึ่งปี (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2008) มีคนมาเยี่ยมชมมากกว่า 2 ล้านคนในปีนั้น สวนคิวเป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนโดยจากกรมสิ่งแวดล้อมอาหาร และหน่วยงานชนบท สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1759 และสวนพึ่งจะฉลองครบรอบ 250 ปีไปในปี ค.ศ. 2009








สวนคิวมีต้นไม้สะสมจากทั่วโลกมากที่สุด มีลูกจ้างเป็นนักวิทยาศาสตร์ถึง 650 คน ต้นไม้สะสมมีมากกว่า 30,000 ชนิด มีหอพรรณไม้ใหญ่ที่สุดในโลก มีตัวอย่างพืชมากกว่า 7 ล้านตัวอย่าง ห้องสมุดมีหนังสือมากกว่า 750,000 เล่ม และมีภาพวาดของต้นไม้มากกว่า 175,000 ภาพ

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เมืองลิเวอร์พูล

เมืองลิเวอร์พูล



ทิวทัศน์นครลิเวอร์พูล

นครลิเวอร์พูล (อังกฤ: Liverpool) เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครและเป็นเมืองเมโทรโพลิตันของเมอร์ซีย์ไซด์ในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ ลิเวอร์พูลตั้งอยู่ทางตะวันออกของปากน้ำเมอร์ซีย์ (Mersey Estuary) ลิเวอร์พูลก่อตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1207 และได้รับฐานะเป็น “นคร” ในปี ค.ศ. 1880



มหาวิหารลิเวอร์พูล

จากการสำรวจสำมโนประขากรใน ค.ศ. 2006 ลิเวอร์พูลมีประชากรทั้งหมดประมาณ 435,500 คน โดยมีความหนาแน่นเป็นจำนวน 5,001 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร เมื่อรวมประชากรในปริมณฑลแล้วก็เป็น 816,216 คน


ท่าอัลเบิร์ต

ในทางประวัติศาสตร์ของมณฑลเดิมลิเวอร์พูลเป็นส่วนหนึ่งของแลงคาสเชอร์ ความรุ่งเรืองของลิเวอร์พูลมาจากการเป็นเมืองท่าสำคัญ ภายในคริสต์ศตวรรษที่ 18 การติดต่อค้าขายกับแคริบเบียน, ไอร์แลนด์ และแผ่นดินใหญ่ยุโรป และความสะดวกในการติดต่อค้าขายกับการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค (Atlantic Slave Trade) ยิ่งทำให้เศรษฐกิจเติบโตมากยิ่งขึ้น ภายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 40% ของการค้าขายในโลกต้องผ่านเมืองท่าลิเวอร์พูลซึ่งทำให้ลิเวอร์พูลกลายเป็นเมืองสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งของอังกฤษ

ตึกรอยัลลิเวอร์

ผู้ที่มาจากลิเวอร์พูลมักจะเรียกกันว่า “ลิเวอร์พัดเลียน” (Liverpudlians) หรือ “สเกาส์” (Scouse) ที่มาจากอาหารท้องถิ่นชื่อเดียวกันที่เป็นสตู นอกจากนั้นคำว่า “สเกาส์” ยังใช้เรียกสำเนียงท้องถิ่น การที่เป็นเมืองท่าทำให้ประชากรของลิเวอร์พูลมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติที่มาจากที่ต่างๆ โดยเฉพาะจากไอร์แลนด์

ความเป็นที่นิยมของเดอะบีทเทิลส์และกลุ่มนักร้องอื่นๆ ทำให้ลิเวอร์พูลเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ในปี ค.ศ. 2007 ลิเวอร์พูลฉลองครบรอบ 800 ปีที่ก่อตั้งมาและในปี ค.ศ. 2008 ลิเวอร์พูลก็ได้รับตำแหน่งเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปพร้อมกับเมืองสตราวันเจอร์ ในนอร์เวย์

ในปี ค.ศ. 2004 บริเวณหลายบริเวณในตัวเมืองได้รับฐานะเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกที่เรียกว่าเมืองการค้าทางทะเลลิเวอร์พูล (Liverpool Maritime Mercantile City) ที่ประกอบด้วยบริเวณที่แยกกันหกบริเวณในตัวเมืองที่รวมทั้ง เพียร์เฮด (Pier Head) , ท่าอัลเบิร์ตและถนนวิลเลียม บราวน์ และสถานที่ที่น่าสนใจของตัวเมือง


ที่มา

แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกตะวันตก - สหราชอาณาจักร

มหาวิหารแคนเตอร์บรี





Canterbury Cathedral



มหาวิหารแคนเตอร์บรี (อังกฤษ: Canterbury Cathedral) เป็นมหาวิหารนิกายอังกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองแคนเตอร์บรี ในสหราชอาณาจักร เป็นวัดประจำตำแหน่งของประมุขสูงสุดของนิกายอังกลิคันทั้งหมด และเป็นที่ตั้งบัลลังก์นักบุญออกัสติน (Chair of St. Augustine) ชื่อที่เรียกกันเป็นทางการของมหาวิหารแคนเตอร์บรีคือ “Cathedral and Metropolitical Church of Christ at Canterbury”
ประวัติ


สังฆราชองค์แรกของมหาวิหารแคนเตอร์บรีคือนักบุญออกัสตินแห่งแคนเตอร์บรีที่เคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่สำนักสงฆ์ลัทธิออกัสติเนียนเซ็นต์แอนดรูที่กรุงโรม สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1ทรงส่งนักบุญออกัสตินไปเผยแพร่คริสต์ศาสนาที่อังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 597



นักบุญบีด (Bede the Venerable) กล่าวไว้ในจดหมายเหตุ “ประวัดิศาสนาของประชาชนชาวอังกฤษ” (The Ecclesiastical History of the English People) ว่านักบุญออกัสตินเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิหารแคนเตอร์บรี และท่านเป็นสังฆราชองค์แรกของมหาวิหารนั้น การสำรวจทางโบราณคดีเมื่อปีค.ศ. 1993 พบร่องรอยของวัดแบบแซ็กซอนใต้ฐานวัด ซึ่งสร้างทับสิ่งก่อสร้างแบบโรมัน วัดแรกอุทิศให้กับนักบุญเซวิเออร์ (St. Saviour)



นอกจากนั้นนักบุญออกัสตินยังควบคุมการก่อสร้างสำนักสงฆ์เบ็นนาดิคตินเซ็นต์ปีเตอร์และพอล (Abbey of St. Peter and Paul) นอกกำแพงเมืองแคนเตอร์บรีด้วย ต่อมาวัดนี้เปลี่ยนมาอุทิศให้กับตัวนักบุญออกัสตินเอง และใช้เป็นสถานที่ฝังสังฆราชมาเป็นเวลาหลายร้อยปี


เพราะความสำคัญของมหาวิหารแคนเตอร์บรี ทำให้มหาวิหารนี้ได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก



ชื่อเดิม เซนต์เซวิเออร์
ฐานะวัด มหาวิหาร
นิกาย อังกลิคัน
ที่ตั้ง แคนเตอร์บรี
ประเทศ สหราชอาณาจักร

การก่อสร้าง

แรกสุด ค.ศ. 602
ผู้สร้างแรก นักบุญออกัสติน
แบบสถาปัตยกรรม โรมานเนสก์และกอธิค
แบบผัง กางเขน



สิ่งที่น่าสนใจ


เก้าอึ้นักบุญออกัสติน
บริเวณสงฆ์แบบกอธิคสมัยต้น
ชาเปลตรีเอกานุภาพสำหรับวัตถุมงคลของนักบุญเบ็คเค็ท

หอโคโรนา








ที่มา


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B5