วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกตะวันตก - สหราชอาณาจักร

มหาวิหารแคนเตอร์บรี





Canterbury Cathedral



มหาวิหารแคนเตอร์บรี (อังกฤษ: Canterbury Cathedral) เป็นมหาวิหารนิกายอังกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองแคนเตอร์บรี ในสหราชอาณาจักร เป็นวัดประจำตำแหน่งของประมุขสูงสุดของนิกายอังกลิคันทั้งหมด และเป็นที่ตั้งบัลลังก์นักบุญออกัสติน (Chair of St. Augustine) ชื่อที่เรียกกันเป็นทางการของมหาวิหารแคนเตอร์บรีคือ “Cathedral and Metropolitical Church of Christ at Canterbury”
ประวัติ


สังฆราชองค์แรกของมหาวิหารแคนเตอร์บรีคือนักบุญออกัสตินแห่งแคนเตอร์บรีที่เคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่สำนักสงฆ์ลัทธิออกัสติเนียนเซ็นต์แอนดรูที่กรุงโรม สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1ทรงส่งนักบุญออกัสตินไปเผยแพร่คริสต์ศาสนาที่อังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 597



นักบุญบีด (Bede the Venerable) กล่าวไว้ในจดหมายเหตุ “ประวัดิศาสนาของประชาชนชาวอังกฤษ” (The Ecclesiastical History of the English People) ว่านักบุญออกัสตินเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิหารแคนเตอร์บรี และท่านเป็นสังฆราชองค์แรกของมหาวิหารนั้น การสำรวจทางโบราณคดีเมื่อปีค.ศ. 1993 พบร่องรอยของวัดแบบแซ็กซอนใต้ฐานวัด ซึ่งสร้างทับสิ่งก่อสร้างแบบโรมัน วัดแรกอุทิศให้กับนักบุญเซวิเออร์ (St. Saviour)



นอกจากนั้นนักบุญออกัสตินยังควบคุมการก่อสร้างสำนักสงฆ์เบ็นนาดิคตินเซ็นต์ปีเตอร์และพอล (Abbey of St. Peter and Paul) นอกกำแพงเมืองแคนเตอร์บรีด้วย ต่อมาวัดนี้เปลี่ยนมาอุทิศให้กับตัวนักบุญออกัสตินเอง และใช้เป็นสถานที่ฝังสังฆราชมาเป็นเวลาหลายร้อยปี


เพราะความสำคัญของมหาวิหารแคนเตอร์บรี ทำให้มหาวิหารนี้ได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก



ชื่อเดิม เซนต์เซวิเออร์
ฐานะวัด มหาวิหาร
นิกาย อังกลิคัน
ที่ตั้ง แคนเตอร์บรี
ประเทศ สหราชอาณาจักร

การก่อสร้าง

แรกสุด ค.ศ. 602
ผู้สร้างแรก นักบุญออกัสติน
แบบสถาปัตยกรรม โรมานเนสก์และกอธิค
แบบผัง กางเขน



สิ่งที่น่าสนใจ


เก้าอึ้นักบุญออกัสติน
บริเวณสงฆ์แบบกอธิคสมัยต้น
ชาเปลตรีเอกานุภาพสำหรับวัตถุมงคลของนักบุญเบ็คเค็ท

หอโคโรนา








ที่มา


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น